นวัตกรรมการเรียนการสอน
ความหมาย
คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการสอนแนวใหม่
คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง
เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครู
จัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่
ต้องการให้ผู้รู้นั้นนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิด
ประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนแนวใหม่จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น “ ผู้สอนใน ยุคโลกาภิวัตน์ ”
เทคนิคการสอนแบบอุปนัย (
Inductive Method )
ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหา
กฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ
ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง
ๆ เพื่อนำมาเป็น ข้อสรุป
ความมุ่งหมายและวิธีสอนแบบอุปนัย เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์
หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง
ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
1.
ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนด
จุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2.
ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง ๆ ให้นักเรียนได้
พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง ควรเสนอ
หลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว
3.
ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียน
ได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควร
รีบร้อนหรือเร่งเร้าเด็กเกินไป
4.
ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นินาม
หลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง
5.
ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือ
ข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.
กระดาษ
2.
ตัวอย่างสารที่ใช้
3.
ชอร์ค
การวัดและประเมินผล
1. จากการสังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจสอบจากผลงาน
บทบาทผู้สอน/บทบาทผู้เรียน
บทบาทผู้สอน มีดังนี้
1.
ผู้สอนยกตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์และความคิดที่เป็นลักษณะย่อยของ
การเรียนรู้
2.
ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจในการวิเคราะห์หาหลักการ
3.
ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทบาทผู้เรียน มีดังนี้
1.
ผู้เรียนยกตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์และความคิดที่เป็นลักษณะย่อยของ
การเรียนรู้
2.
ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์หาหลักการที่แฝงอยู่ในตัวอย่างนั้น
3.
ผู้เรียนสรุปหลักการ และแนวคิดที่ได้จากตัวอย่างนั้น
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน
2.
ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์
3.
ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลัก
จิตวิทยา
ข้อจำกัด
1.
ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ
2.
ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย
3.
ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป
4.
ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ผู้สอนสามารถใช้คำถามเพิ่มเติมหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ควรใช้ในลักษณะที่
เป็นการบอกคำตอบ โดยที่ผู้สอนพึงระลึกอยู่เสมอว่าวิธีสอนวิธีนี้ มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้คิด
ได้ทำความ เข้าใจด้วยตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น