หน่วยที่ 4

จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา
หมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต
            วิลเฮล์น แมกซ์วุ้นต์ ( Wilhelm Max Wundt ) เป็นคนที่เปิดห้องทดลองจิตวิทยาแห่งแรกของโลก ที่มหาวิทยาลัย ไลป์ซิก ( Leipzing ) จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง
            วัตสัน ( Wetson ) เป็นคนแรกที่ให้ความหมาย จิตวิทยาเป็น พฤติกรรม ( Bahavior ) จนมีความหมายมาถึงปัจจุบันว่า วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งพฤติกรรม บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.        จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.        ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.        ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.        ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม ( Behavior)
            การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ พฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.        พฤติกรรมภายใน
2.        พฤติกรรมภายนอก



กฎการเรียนรู้ 4 กฎ
1.        กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
2.        กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก
3.        กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4.        กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ
ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
การเรียนรู้อย่างหนึ่งแล้วมีผลต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง อาจมีผลทางบวก ลบ ก็ได้ เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลังก็สามารถถ่ายโยงไปมีผลกับเรื่องแยกตัวประกอบได้ การถ่ายโยงจึงเป็นการที่บุคคลนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง
การถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท
1.        การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
    • เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
    • การเตะบอล นำไปสู่การเล่นทีม
2.        การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง
    • การขับรถเมืองไทย เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
ปัจจัยเสริมการเรียนรู้
      แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
    • แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก เช่น หิว กระหาย อยากเรียน
    • แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล
        ความพร้อม (Readiness) ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะตอบสนองกับสิ่งที่มาเร้า
    • ทางร่างกาย ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity) - ทางจิตใจ ได้แก่ ความพอใจ
      วุฒิภาวะ (Maturity) การบรรลุถึงขั้นความเจริญเติบโตเต็มที่ ในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้พอเหมาะกับวัย
องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
1.        วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
2.        ประสบการณ์เดิม (Experience)
3.        การจัดบทเรียนของครู โดยดูพื้นฐานของเด็กว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบางมากน้อยเพียงใด
4.        การสอนของครู ครูควรสอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม และครูเป็นผู้สร้างความพร้อมให้กับนักเรียน
        ลำดับขั้นความต้องการ ความต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    • ความต้องการทางกาย ต้องการอาหาร น้ำ เพศ
    • ความต้องการทางจิตใจ ความรัก
มาสโลว์ (Maslor) ความต้องการของมนุษย์แบ่งได้ 5 ขั้น
1.        ความต้องการทางร่างกาย หิว กระหาย เพศ
2.        ความต้องการทางความปลอดภัย
3.        ความต้องการทางความรัก
4.        ความต้องการทางเกียรติ ชื่อเสียง
5.        ความต้องการในการยอมรับความสามารถ
        อารมณ์และการปรับตัว (Emotion and Adjustment) เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการถูกกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าภายใน แรงขับ สิ่งเร้าภายนอก อารมณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ
o   อารมณ์ บวก
o   อารมณ์ทางไม่ดี โกธร เสียใจ ความรุนแรงของอารมณ์ขึ้นอยู่กับ
    • สถานการณ์ อากาศเย็นทำให้อารมณ์ดี
    • สภาพร่างกาย ร่างกายสมบูรณ์ก็ทำให้อารมณ์ดี
    • ทัศนคติ แนวโน้มที่ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้อารมณ์เสียได้ง่าย
นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงกลวิธีในการปรับตัว (Defense mechanism) มีหลายวิธีการ สรุปได้ดังนี้
        การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) ไม่ยอมรับตนเองโดยหาเหตุผลมาลบล้าง
    • การอ้างว่าชอบหรือไม่ชอบ
    • องุ่นเปรี้ยว
    • มะนาวหวาน
    • การโยนความผิดไปให้ผู้อื่น (Projection) เอาความผิดของคนอื่นมาลบล้างความผิดของตน
    • รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
    • สอบตกแล้วว่าอาจารย์สอนไม่ดี
        การปรับตัวโดยหาสิ่งอื่นมาแทนที่ (Substitution)
o   การชดเชย (Compensation)
o   การทดแทน (Sublimation)
การชดเชยไม่ต้องแทนสิ่งที่เหมือนกัน การทดแทนแทนด้วยสิ่งที่เหมือนกัน
1.        การเก็บกด (Repression) วิธีการลืมเหตุการณ์หรือความคิดที่ไม่ถูกต้องที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
2.        การย้ายอารมณ์ (Displacement) เป็นการการย้ายอารมณ์ที่ไม่พอใจจากสิ่งหนึ่งไปสิ่งหนึ่ง โกธรกับผัวที่บ้า ไประบายอารมณ์กับนักเรียน
        การจูงใจ (Motivation) การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การให้รางวัล
การจูงใจประกอบด้วย 2 ส่วน
    • แรงจูงใจ (Motivation) สภาวะใด ๆ ก็ตามที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา
    • สิ่งจูงใจ (Incentive) รางวัล
การจูงใจจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับ
1.        แรงจูงใจภายใน เป็นพฤติกรรมที่บุคคลต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง เช่น ความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ
2.        แรงจูงใจภายนอก เป็นพฤติกรรมที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เร้าให้เกิดความต้องการ เช่น เงินเดือน คำชมเชย
        ทัศนคติ และความสนใจ ความพร้อมของร่างกาย จิตใจที่มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ใด ๆ ด้วยการเข้าหาหรือถอยหนี แบ่งเป็น 2ประเภท
1.        ทัศนคติทางบวกหรือทัศนคติที่ดี แนวโน้มที่จะเข้าหาสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความชอบ พอใจ
2.        ทัศนคติทางลบหรือทัศนคติไม่ดี แนวโน้มที่จะถอนหนีสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความไม่ชอบ ไม่พอใจ
ลักษณะทั่วไปของทัศนคติ
1.        ทัศนคติที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือได้รับประสบการณ์ ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด
2.        ทัศนคติจะเป็นตัวชี้ในการแสดงพฤติกรรม
3.        ทัศนคติไม่สามารถถ่ายทอด จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้
4.        ทัศนคติสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทัศนคติจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก
ความสนใจ (Interest) มีลักษณะใกล้เคียงกับทัศนคติ แต่ความสนใจเป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ ความสนใจเป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ทัศนคติทางบวก) ความสนใจของนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันเพราะ ความต้องการ ถนัด สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
การสร้างความสนใจ
1.        ศึกษาความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียน สื่อต่าง ๆ
2.        สำรวจพื้นฐานความถนัด
3.        จัดห้อง สภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ
4.        เสริมแรงโดยพยายามให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ
5.        ชี้ทางความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อให้เขามีความสนใจ
การจำต้องประกอบด้วยพฤติกรรมต่าง ๆดังนี้
1.        การเรียนรู้
2.        ความสามารถในการสะสม รวบรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
3.        ความสามารถในการถ่ายทอดได้ สามารถเล่า ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
4.        รู้สึกได้
5.        จำได้
จิตวิทยาการเรียนการสอน
           จิตวิทยาเป็น การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
 แนวทางในการศึกษา
นักเรียนศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของ
 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
 วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
 1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
 2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
                   1.  ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
                   2.  ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้   เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
                   3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว     นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
                   4.  ทฤษฎีการเรียนรู้  นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ    ผู้เรียน  เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
                   5.  ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
                   6.  หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม 
                   7.  หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ      แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่   เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
                   8.  การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
1.  ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
2.  ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
3.  ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.  ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
5.  ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
6.  ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
7.  ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
8.  ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
9.  ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี  ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
10.  ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
ธรรมชาติของทัศนคติ
                   1.  ทัศนคติเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคล 
                   2.  ทัศนคติเกิดจากความรู้สึกที่สะสมมานาน
                   3.  ทัศนคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลโดยทั่วไปได้
                   4.  ทัศนคติสามารถถ่ายทอดออกไปสู่คนอื่น ๆ ได้
                   5.  ทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้
ลักษณะของทัศนคติ
            1.  ทัศนคติเชิงบวก - ลบ  ยิ่งสะสมประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่งอย่างเต็มที่หรืออาจเกิดจากอคติมากๆ จะทำให้มีความเข้มข้นสูงมากเป็นทัศนคติเชิงบวกสุดหรือลบสุด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก
            2.  เกิดจากความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) ต่อสิ่งเร้าในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉย ๆ
                        คนเก่ง  (รู้ในทางดี)                         จะเกิดทัศนคติทางบวก
                        เป็นคนเฉย ๆ (รู้กลาง)                     จะไม่เกิดทัศนคติ
                        ชอบขโมย (รู้ในทางไม่ดี)                   จะเกิดทัศนคติในทางลบ
            3.  การแยกแยะเป็นส่วน  (Differentiation)  การรับรู้ต่อสิ่งเร้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพิจารณา  องค์ประกอบย่อยแต่ละส่วน จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะก่อให้เกิดทัศนคติในทางใดทางหนึ่งได้ดีกว่า การรับรู้ที่คลุมเครือ หรือรับรู้รวมๆ
             4.  โดดเดี่ยว  (Isolation) ทัศนคติต่อสิ่งเร้าบางอย่าง อาจจะแตกต่างไปจากทัศนคติที่มีต่อสิ่งเร้านั้นโดยส่วนรวม เช่น เราไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์  แต่เราอาจจะเฉยๆ หรือชอบครูที่สอนคณิตศาสตร์ก็ได้  ถ้าครูคนนั้นสวย พูดจากอ่อนหวานหรือมีลักษณะบางอย่างที่เราชอบ
             5.  เข้มข้น  (Strength) ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้  แต่ถ้าทัศนคติต่อสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ บางอย่างที่สะสมมานาน และลงรากลึกถาวร จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก   ถ้าให้คนที่เคยชินกับระบบอาวุโสเคยออกแต่คำสั่ง หรือเข้มงวดกับระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างมากๆ มารับฟังความคิดของคนอายุต่ำกว่า หรือให้เด็ก ทำอะไรได้ตามใจชอบโดยไม่ตั้งกฎอะไรเลย จนกว่าเด็กจะรู้เองว่าควรจะปฏิบัติตน
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
                   หมายถึงกิจที่บุคคลต้องกระทำให้สำเร็จตามคำสั่ง  ตามกฎหมายตามหลักศีลธรรม คุณธรรมหรือด้วยสำนึกในความถูกต้องเหมาะสม  ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจึงหมายถึง  กิจที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องกระทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  ซึ่งการกระทำของครูอาจจะเป็นไปโดยอาศัยหลักคุณธรรม  จริยธรรม  กฎหมาย  หรือด้วยสำนึกในความถูกต้องเหมาะสม
                   1. หน้าที่ครูตามแนววิชาหลักการศึกษา  ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีพครู  จำแนกหน้าที่ของครูไว้ดังต่อไปนี้
                        1.1 หน้าที่ในการสอน  แบ่งเป็นหน้าที่ย่อย 6 ประการ ดังนี้
                            1.1.1 สอนให้รู้ ให้คิด ให้เข้าใจ
                            1.1.2 ฝึกนิยมฝึกให้ปฏิบัติ
                            1.1.3 ประเมินและวัดสิ่งที่สอนที่ทำ
                            1.1.4 แนะและนำให้เด็กแก้ปัญหา
                            1.1.5 เตรียมการและวางแผนล่วงหน้า
                            1.1.6 เป็นแบบอย่างเสริมสร้างคุณธรรม
                        1.2 หน้าที่การจูงใจ ปลูกฝัง เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม แบ่งเป็นหน้าที่ย่อย 5 ประการ ดังนี้ 10
                            1.2.1 เป็นผู้ฝึก คือ ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ปัญหา ฝึกปฏิบัติ ฝึกมารยาท ฯลฯ
                            1.2.2 เป็นผู้สอน คือ สอนให้รู้เข้าใจเหตุผล หลักการให้รู้ดีชั่ว รู้หลักจริยธรรม
                            1.2.3 เป็นผู้แนะ คือนิเทศ ชี้ทาง ช่วยเหลือ บอกวิธีการ ร่วมปฏิบัติ แนะวิธีปฏิบัติ ตามหลักธรรม แนะวิธีแก้ปัญหา และวิธีดับทุกข์ แสวงสุข ความชอบธรรม  และแนวทางช่วยเหลือผู้อื่น
                            1.2.4 ผู้นำ คือ เป็นตัวแบบในด้านดี แสดงภาพผู้มีศีลธรรม  ผู้มีความสุขให้ดู  นั่นคือ ปฏิบัติสิ่งที่สอนไปให้เด็กเห็น
                            1.2.5 ผู้ส่งเสริมและพัฒนา คือหน้าที่อื่น  ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่นบริหาร เผยแพร่ 

10 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช  ประมวลบทความด้วยจริยธรรม  หน้า 57 - 41
สื่อสาร  ประชาสัมพันธ์  สร้างสภาพแวดล้อม เป็นต้น
                   2. หน้าที่ครูด้านจริยศึกษา
                        2.1 ครูทุกคนต้องพร้อมที่จะสอนจริยศึกษาได้  ต้องมีจริยธรรมอยู่ในตัว  ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ได้
                        2.2 ครูต้องเคารพความจริง มุ่งแสวงหาความจริง เข้าถึงความจริง แล้วนำไปสอนให้สอดคล้องกับจริยธรรม
                        2.3 ครูต้องทำความเข้าใจศัพท์ และถ้อยคำที่ใช้  และเกี่ยวข้องกับคุณธรรม  เพื่อจะได้นำไปใช้สอนให้ถูกต้องเหมาะสม
                        2.4 ครูต้องรู้จักคิด รู้จักทำตนเป็นมิตรที่ดี หรือกัลยาณมิตร
                        2.5 ครูต้องสอนจริยศึกษาด้วยการปฏิบัติและให้เด็กเห็นตัวอย่าง
                        2.6 ครูต้องวัดและประเมินผลการสอนอยู่เสมอ  โดยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
กระบวนการเรียนการสอน  ประกอบด้วย
                   1. หลักสูตร
                        1.1 วิเคราะห์หลักสูตร
                        1.2 กำหนดจุดประสงค์
                        1.3 การวางแผนการใช้หลักสูตร
                   2. การสอน
                        2.1 เขียนแผนการสอน  (จุดประสงค์ – การสอน – สื่อ)
                        2.2 เตรียมสอน
                        2.3 ดำเนินการ (จริงจัง – มีชีวิตชีวา – จิตวิทยา)
                   3. การวัดผลและประเมินผล
                        3.1 ความถูกต้อง
                        3.2 ความน่าเชื่อถือ
                        3.3 ความยุติธรรม
การนำเอาหลักจิตวิทยาและกระบวนการเรียนรู้มาใช้ในการสอน
                   1. ด้านการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
                   2. ด้านการเรียน  ช่วยให้ผู้สอนมีการปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ และวิธีการสอน
                   3. ด้านสังคม  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนรู้จักปรับปรุงตนเองโดยใช้การวัด  แปลงพฤติกรรม
                   4. ด้านการปกครอง และการแนะแนะ ช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนของตนเองดียิ่งขึ้น  สามารถอบรม  แนะนำ ควบคุมดูแลผู้เรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดีมีการปรับตัวที่เหมาะสม
จิตวิทยาที่ใช้ในการเรียนการสอน 
          จากการเรียนการสอน คุณครูมีการใช้หลักจิตวิทยาในการสอน คือ
       1. ครูมีการสังเกตพฤติกรรม หรือสำรวจความพร้อม หรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้กับนักเรียนก่อนการเรียนเสมอ  โดยในการเรียน คุณครูจะให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม และทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มตั้งใจเรียนมากขึ้น และพยายามตอบคำถามที่คุณครูถามได้

       2. สำหรับในการจัดการเรียนการสอนของครู ครูได้นำสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช และ สัตว์ มาให้นักเรียนได้สังเกตจริงๆ ในห้อง ดังนั้นจึงเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน และสร้างความอยากรู้ อยากทดลองให้กับนักเรียนมากขึ้น
        3. ครูให้นักเรียนได้แสดงบทบาทสมมติของนักเรียน โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น  ดังนั้นครูจึงเป็นผู้ส่งเสริมให้นักเรียน กล้าคิด กล้าทำ มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออกมากขึ้น และเมื่อนักเรียน ได้แสดงบทบาทสมมติจบลง ครูมีการเสริมแรงเชิงบวกให้กับนักเรียน คือ การกล่าวชื่นชม และปรบมือให้กับนักเรียน
       4. บรรยากาศของห้องเรียน มีความเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียด บุคลิกภาพของครูดูอบอุ่น ใจดี ให้ความเป็นกันเองกับนักเรียน  ลักษณะการพูด  น้ำเสียงพูดนิ่มนวล โดยครูจะแทนนักเรียนว่าลูก จึงทำให้นักเรียนเกิดความสนิทสนมกับครูมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังมีการพูดติดตลกกับนักเรียนบ้างเล็กน้อย  จึงทำให้นักเรียนได้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นได้
       5.  ห้องเรียนที่คุณครูสอนมีการจัดป้ายนิเทศ  และจัดห้องเรียนสวยงาม เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวส่งเสริมให้บรรยากาศของชั้นเรียนดีขึ้นด้วย
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
            ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน

            ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น